หน้าแรก / บทความ

PM2.5 ภัยร้ายทำลายผิวถาวร

17 เมษายน 2023

PM2.5 ภัยร้ายทำลายผิวถาวร

 PM 2.5 จัดเป็นมลพิษที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะระบบป้องกันในโพรงจมูกของเราไม่สามารถดักจับเอาไว้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง ตามคำเตือนขององค์การอนามัยโลก

ปกติแล้ว สารตั้งต้นของ PM 2.5 ก่อนจะรวมตัวกับไอน้ำ และฝุ่นควัน คือ ก๊าซพิษ ซึ่งได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide : CO)  ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ทั้งสิ้น โดยมลภาวะเหล่านี้ทำตัวเสมือนสารก่อระคายเคืองผิว จนกระตุ้นให้มีการหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokines) ก่อให้เกิดการอักเสบ ผิวแพ้ง่าย ระคายเคือง  หลายคนมีอาการผื่นแพ้ฝุ่น PM2.5 อาการแพ้และความรุนแรงมีความสัมพันธ์กับค่า PM2.5 อย่างมีนัยสําคัญ หากใครมีอาการแพ้ ขอให้เลี่ยงไม่เกาบริเวณนั้นเนื่องจากในงานวิจัยระบุว่า PM2.5 สามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นในตรงจุดที่ผิวหนังชั้นนอกถูกทำลาย ทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรงขึ้น

80% ใน PM2.5 คืออนุภาคที่เล็กกว่า 0.3 ไมครอน ซึ่งอนุภาคที่เล็กกว่า 0.3 ไมครอนเหล่านี้มีพื้นที่ผิวที่มากสามารถดูดซับและนำพาเอามลพิษ สารประกอบอินทรีย์และโลหะหนักเข้าไปในร่างกายเราได้จำนวนมาก เช่น สารไฮโดรคาร์บอนที่ถูกดูดซับบนพื้นผิวของ PM2.5 คือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic hydrocarbons, PAHs) ซึ่ง PAHs ถือว่าเป็นสารก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุดเนื่องจากมีความสามารถในการกระตุ้นการก่อตัวของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเนื่องจากมีสาเหตุจากออกซิเจนที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า reactive oxygen species (ROS)

เมื่อผิวหนังเราสัมผัสกับ PM2.5 ในอากาศ PM2.5 จะทำลายเกราะป้องกันหรือชั้นปราการของผิวหนังที่มีความผิดปกติของชั้นปราการอยู่แล้วให้มีระดับที่มากขึ้น โดยกลไกพื้นฐานของผลกระทบของการสัมผัส PM2.5 บนผิวหนังคือ PM2.5 สามารถทำลายชั้นปราการผิวหนังชั้นนอกได้โดยการเพิ่มระดับของเปปไทด์ต้านจุลชีพ (antimicrobial peptides) และยับยั้งระดับของโปรตีนที่จำเป็นต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (cell differentiation) และกระบวนการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ (cell proliferation) โดย PM2.5 ชักนำให้เกิด ROS โดยการกระตุ้นลิแกนด์ของแอริลไฮโดรคาร์บอนรีเซฟเตอร์ (aryl hydrocarbon receptor, AhR) เมื่อสัมผัสกับ PAHs และการเพิ่มขึ้นของนิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต (nicotinamide adenine dinucleotide phosphate, NADPH) เอนไซม์ออกซิเดส (oxidase enzymes, NOX) ROS อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนังโดยเปอร์ออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) โปรตีนคาร์บอนิลเลชั่น (protein carbonylation) ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพโดยไม่สามารถย้อนกลับได้

 

วิธีปกป้องผิวจากฝุ่น PM 2.5

1.ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกข้างนอกบ้าน หรือต้องผ่านที่โล่งแจ้ง โดยแนะนำให้ใส่หน้ากากพิเศษชนิดที่เรียกว่า “N95”

2.เมื่อต้องออกไปข้างนอก หากเป็นไปได้ควรสวมใส่เสื้อแขนยาวปกปิดให้มิดชิดและพยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่อากาศมีฝุ่นพิษ PM 2.5 หนาแน่น เช่น ทางเดินข้างถนน บริเวณที่มีการก่3.พยายามไม่แกะเกาหรือสัมผัสใบหน้าขณะอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นเพื่อป้องกันการระคายเคืองและสัมผัสกับใบหน้าด้วยสิ่งสกปรก

4.ใช้เครื่องสำอางปกป้องผิวจากแสงแดด เพราะแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้มลพิษทางอากาศทำงานได้ดีขึ้น การปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านตอนเช้า จึงเป็นตัวช่วยที่ดี และควรเลือกครีมกันแดดที่มีส่วนผสมที่ช่วยในการปกป้องผิวจากมลพิษ PM2.5  รวมถึง UVA UVB และ Invisible Light เช่น Astaxanthin, Vitamin C, Vitamin E หรือ CoQ10 ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง เพื่อสร้างเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง ต่อสู้กับมลภาวะได้

5.ครีมบำรุงผิวที่ผสมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี แอสต้าแซนติน โคเอนไซม์คิวเท็น

6.รับประทานผักและผลไม้หลากสีสัน เพื่อรับสารต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายไว้ใช้ต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ

7.ออกกำลังกายในที่ที่มีฝุ่นน้อย อาจเปลี่ยนเป็นออกในบ้านหรือฟิตเนส แทนการวิ่งตามสวนสาธารณะ

เลี่ยงการออกกำลังกายในช่วง 5.00 น-8.00น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีค่า PM2.5 มากที่สุด

เลือกช่วงเวลาที่ออกกำลังกาย 17.00-19.00น เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีค่าPM2.5 น้อยที่สุด  

8.หลังออกไปเผชิญฝุ่น PM 2.5 อย่าละเลยการทำความสะอาดควรล้างทำความสะอาดผิวหน้าทันทีด้วยคลีนเซอร์ และทำความสะอาดหน้าต่อด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผสมสารชะล้าง PM2.5 เพื่อกำจัดฝุ่นที่ตกค้างบนผิวหนังให้มากที่สุด ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผิวตามมา

 

บริษัท แลโบทานิกฯ มีโรงงานเครื่องสำอาง ให้บริการผลิตเครื่องสำอางทำความสะอาดผิวจาก PM2.5, ครีมกันแดดสูตรปกป้องผิวจากPM2.5, สกินแคร์ Anti-Pollution PM2.5 สามารถเคลมNatural Origin ตามมาตราฐานISO16128 ได้ หากสนใจสามารถติดต่อเข้ามาขอทดลองเทสเตอร์ หรือนัดหมายเภสัชกรเพื่อปรึกษาการผลิตหน้ากากและการพัฒนาสูตรสำหรับแบรนด์ของคุณ

 

 

ที่มา: Dijkhoff IM, Drasler B, Karakocak BB, Petri-Fink A, Valacchi G, Eeman M, Rothen-Rutishauser B. Impact of airborne particulate matter on skin: a systematic review from epidemiology to in vitro studies. Part Fibre Toxicol. 2020 Jul 25;17(1):35. doi: 10.1186/s12989-020-00366-y. PMID: 32711561; PMCID: PMC7382801.

ที่มา: Jin SP, Li Z, Choi EK, Lee S, Kim YK, Seo EY, Chung JH, Cho S. Urban particulate matter in air pollution penetrates into the barrier-disrupted skin and produces ROS-dependent cutaneous inflammatory response in vivo. J Dermatol Sci. 2018 Apr 30:S0923-1811(18)30202-0. doi: 10.1016/j.jdermsci.2018.04.015. Epub ahead of print. PMID: 29731195.



labotanic line official

@labotanic_organic

Line Official

ปรึกษาฟรี

น้องชมพู มิสแกรนด์เชียงใหม่
พร้อมเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ค่ะ

ปรึกษาฟรี

น้องชมพู มิสแกรนด์เชียงใหม่
พร้อมเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ค่ะ